วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

วิชาคณิตศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
รายวิชาคณิตศาสตร์      ค33101   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   จำนวนเวลา  120  ชั่วโมง

                                                          คำอธิบายรายวิชา

                  ศึกษา   ฝึกทักษะการคิดคำนวณ  และแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้
                  ปริมาตรและพื้นที่ผิว  การหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึม  ทรงกระบอก  การหาปริมาตรของพีระมิด  กรวย และทรงกลม  การเปรียบเทียบหน่วยปริมาตร  การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ผิวและปริมาตร
                   ระบบสมการเชิงเส้น  สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร  ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร  การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร  การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
                    ความคล้าย  รูปที่คล้าย  รูปสามเหลี่ยมที่คล้ายกัน   สมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่คล้ายกัน การนำไปใช้
                   กราฟ  กราฟเส้นตรง  กราฟเส้นตรงกับการนำไปใช้  กราฟอื่น ๆ
                   อสมการ  คำตอบและกราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
                   สถิติ   การกำหนดประเด็น  การเขียนข้อคำถาม  การกำหนดวิธีการศึกษา และการเก็บรวบรวมข้อมูล  การนำเสนอข้อมูล  การหาค่ากลางของข้อมูล  การเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูลการอ่าน  การแปลความหมาย  และการวิเคราะห์ข้อมูล  การใช้ข้อมูลสารสนเทศ
                  ความน่าจะเป็น  การทดลองสุ่มและเหตุการณ์  การหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์   การนำไปใช้
                   การเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์  การเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับทักษะกระบวนการ  ตรีโกณ
                   โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า  ปฏิบัติจริง  ทดลอง  สรุป  รายงาน  เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และนำประสบการณ์ด้านความรู้  ความคิด  ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์  รวมทั้งเห็นคุณค่าและเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์  สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ  ระเบียบ  รอบคอบ  มีความผิดชอบ  มีวิจารณญาณ  และเชื่อมั่นในตนเอง     การวัดผลและประเมินผลด้วยวิธีการหลากหลาย  ตามสภาพความเป็นจริงของเนื้อหา  และทักษะ/กระบวนการที่ต้องการวั

   ค 2.1  ม.3/1 ม.3/2 ม.3/3 ม.3/4  ค 2.2  ม.3/1    ค 3.1  ม.3/1  ค 3.2 ม.3/1    ค 4.2   ม.3/1 ม.3/2 ม.3/3 ม.3/4  ม.3/5  

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ค 33101                                                                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  เรื่อง  พื้นที่ผิวและปริมาตร                                                  จำนวน  15  ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1.3  เรื่อง  รูปเรขาคณิตสามมิติ (พีระมิด)                         จำนวน  1  ชั่วโมง

สาระที่  3 เรขาคณิต
สาระที่  6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์

มาตรฐานการเรียนรู้ 
          ค 3.1  อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
                        ค 6.2  มีความสามารถในการให้เหตุผล
                ค 6.4  มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
          ค 3.1.1  :  อธิบายลักษณะและสมบัติของปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และทรงกลมได้
                ค 6.2.1 :  สามารถแสดงเหตุผลโดยการอ้างอิงความรู้ ข้อมูล หรือข้อเท็จจริง หรือสร้างแผนภาพ
                ค 6.4.1 : เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้
               
ผลการเรียนรู้
                -  บอกลักษณะและสมบัติของปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และทรงกลม ได้

1.  สาระสำคัญ
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใด ๆ มียอดแหลมที่ไม่อยู่บนระนาบเดียวกันกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น เรียกว่า  พีระมิด

2.  จุดประสงค์การเรียนรู้
          2. 1  ด้านความรู้   
- เมื่อกำหนดรูปพีระมิดให้ สามารถบอกลักษณะและสมบัติของพีระมิด ได้
          2.2  ด้านทักษะ/กระบวนการ
                                - นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้
                2.3  ด้านคุณลักษณะ
- นักเรียนทำงานเป็นระบบ รอบคอบ

3.  สาระการเรียนรู้
พีระมิด
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใด ๆ มียอดแหลมที่ไม่อยู่บนระนาบเดียวกันกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น เรียกว่า  พีระมิด

4.การวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  หลักความพอประมาณ
               1.  ครูออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับหลักสูตร
                2.   ครูออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน
                3.   เนื้อหาสาระในกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน
                4.นักเรียนรู้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน  และสามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างวงกลมกับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
หลักความมีเหตุผล
        1.จัดกิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับหลักสูตรและมาตรฐาน
    2. ประเมินผลการเรียนรู้ตรงตามหลักสูตรและมาตรฐาน
    3.นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ เชื่อมโยง เรื่อง ปริมาตรกับการหาพื้นที่กับชีวิตประจำวันได้สมเหตุสมผล 
หลักภูมิคุ้มกัน
       1. วางแผนการจัดกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน
2.  จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
3.  หาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4.   กำหนดเกณฑ์การประเมินชัดเจน
             5.  มีกิจกรรรมรองรับในกรณีการจัดกิจกรรมไม่เป็นไปตามแผนการจัดกิจกรรมที่กำหนด
             6.นักเรียนใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการพอประมาณ มีเหตุผลในการแก้ปัญหา
ต่าง  ๆ  ในชีวิตประจำวัน   เป็นปกตินิสัย
เงื่อนไขคุณธรรม
               นักเรียนมีความรอบคอบ  ทำงานเป็นระบบ  วินัย  และมีเจคติที่ดีต่อการเรียนการสอน
เงื่อนไขความรู้
             1. รอบรู้เนื้อหาในสาระคณิตศาสตร์เรื่องปริมาตรและการหาพื้นที่            
              2. รอบรู้เทคนิควิธีที่หลากหลายในการแก้ปัญหาการหาปริมาตรและการหาพื้นที่
              3.นักเรียนมีความรู้เรื่อง การหาปริมาตรและการหาพื้นที่ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

4.  กิจกรรมการเรียนการสอน
                4.1  ทบทวนเกี่ยวกับรูปเรขาคณิตสามมิติ ทรงกระบอก  โดยให้นักเรียนตอบคำถาม
ด้วยวาจา เช่น
                  -  สิ่งรอบตัวของนักเรียนที่มีส่วนประกอบที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกได้แก่อะไรบ้าง
                  -  ทรงกระบอก เมื่อคลี่ออก ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตสองมิติ ชนิดใดบ้าง(ครูสุ่มให้นักเรียน 5-6 คน ตอบคำถาม)
                4.2  แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบอย่างชัดเจนว่า เมื่อสิ้นสุดการเรียนในครั้งนี้ นักเรียนสามารถบอกลักษณะและสมบัติของพีระมิดได้  มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ได้ และ มีความรอบคอบในการทำงาน
          4.3  นักเรียนเข้ากลุ่ม  5-6 คน คละความสามารถ (เก่ง ปานกลาง อ่อน) ตั้งชื่อกลุ่ม
แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบภายในกลุ่ม เช่น ประธาน รองประธาน เลขาฯ เป็นต้น
(อาจจะใช้กลุ่มเดิมจากการเรียนครั้งที่ผ่านมา)
                4.4  นักเรียนและครูสนทนาเกี่ยวกับรูปเรขาคณิตสามมิติ  พีระมิด
                                4.4.1  ครูซักถามนักเรียนเกี่ยวกับพีระมิดที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น
หลังคาบ้านและอาคารต่าง ๆ เป็นต้น
                                4.4.2  นักเรียนและครูสนทนาเกี่ยวกับลักษณะของพีระมิด จากแผนภูมิ ดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใด ๆ มียอดแหลมที่ไม่อยู่บนระนาบเดียวกัน
กับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น เรียกว่า  พีระมิด

                      4.4.3  นักเรียนพิจารณาภาพพีระมิดที่แสดงส่วนต่างๆของพีระมิด และการเรียกชื่อพีระมิด ดังนี้
                  4.4.4  ครูเพิ่มอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับพีระมิดที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว เช่นหลังคายอดโดมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
                4.5  นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมการสำรวจพีระมิดจากใบงานกลุ่ม 3ขณะปฏิบัติกิจกรรม ครูเน้นผู้เรียนให้นักเรียนนำแนวพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม  แล้วนำเสนอผลงานรายกลุ่ม ครูเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์
                4.6 นักเรียนและครูช่วยกันตรวจผลงานอีกครั้ง  ประกาศ ชมเชยกลุ่มที่ได้คะแนนรวม
จากการปฏิบัติกิจกรรมสูงสุด
                4.7 นักเรียนและครูสรุปเกี่ยวกับลักษณะและสมบัติของพีระมิด ว่ารูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใด ๆ มียอดแหลมที่ไม่อยู่บนระนาบเดียวกันกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น เรียกว่า  พีระมิด
                   4.8  นักเรียนทำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุดที่ 3  ในเวลาที่เหลืออยู่หรือทำเป็นการบ้าน
                4.9  มอบหมายภาระงานให้นักเรียนเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการเรียนในครั้งต่อไป

5.  สื่อ/แหล่งเรียนรู้
                5.1  สื่อการเรียนการสอน
                                5.1.1  แผนภูมิแสดงลักษณะและสมบัติของพีระมิด
                                5.1.2  วัตถุที่มีลักษณะเป็นพีระมิด หรือภาพของพีระมิด
                                5.1.3  ใบงานกลุ่ม 3
                   5.1.4  แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุดที่ 3     
                5.2  แหล่งเรียนรู้
                                5.2.1  ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์
                                5.2.2  ห้องสมุดโรงเรียน

6.              การวัดผลประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมิน
1. ด้านความรู้
 - เมื่อกำหนดรูปปริซึมให้ สามารถบอกลักษณะและสมบัติของพีระมิด ได้
- ตรวจผลงาน
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 
ชุดที่ 3

- แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์    ชุดที่ 3
ดี (3)  คือ ได้คะแนน  20-25 คะแนน
พอใช้ (2) คือ  ได้คะแนน  15-119 คะแนน
ต้องปรับปรุง (1)  ได้คะแนนน้อยกว่า 15 คะแนน
(ได้ระดับ 2 ขึ้นไปผ่านการประเมิน)
2. ด้านทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์
  - การเชื่อมโยง
- ประเมินพฤติกรรมโดยการสังเกต สัมภาษณ์
-แบบประเมิน ผลทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์
ดี (3) คือ ผ่าน  4-5 รายการ
พอใช้ (2)  คือ ผ่าน  3 รายการ
ต้องปรับปรุง(1) คือ ผ่านต่ำกว่า
3 รายการ
(ได้ระดับ 2 ขึ้นไปผ่านการประเมิน)
3. ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- การทำงานกลุ่ม
- ประเมินพฤติกรรมโดยการสังเกต สัมภาษณ์
แบบบันทึก      การสังเกต         พฤติกรรม
ผ่าน 3 รายการ อยู่ในระดับดี (3)
ผ่าน 2 รายการ อยู่ในระดับพอใช้ (2) 
ผ่านน้อยกว่า 2 รายการ อยู่ในระดับ        
ต้องปรับปรุง(1)
 (ได้ระดับ 2 ขึ้นไปผ่านการประเมิน)